พระจมน้ำ เขาระกำ ตราด
2022-12-18 11:22:47 ใน ที่เที่ยวบนฝั่งตราด » 0 1104
พระจมน้ำ เขาระกำ จังหวัดตราด ชื่อพระพุทธสิริภูวดลมงคลชัย สำนักสงฆ์เขาระกำ ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขาระกำ เขตอำเภอเมืองตราด ห่างจากตัวเมืองตราดประมาณ 12 กิโลเมตร
ที่มาของพระจมน้ำเขาระกำ (ข้อมูลโดยตราดทีวี)
เมื่อปี พ.ศ. 2545 พระอาจารย์ประเวช สีลฺเตโช ได้เดินธุดงค์จากเขาตาง๊อก จังหวัดสระแก้วมาถึงอ่างเก็บน้ำเขาระกำ ได้ขอใช้พื้นที่เป็นสถานที่พักเจ้าหน้าที่ชลประทานเป็นที่พักสงฆ์นับแต่นั้นมา
ที่พักสงฆ์แห่งนี้มีชื่อเรียกว่าสำนักสงฆ์เขาระกำ มีชาวไทย ชาวมอญในละแวกนั้นร่วมทำบุญร่วมสร้างวัดโดยเฉพาะชาวมอญที่มีความศรัทธาต่อพระอาจารย์ประเวช ทำให้ชาวมอญจำนวนมาก เดินทางมาทำบุญที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ ทำให้หลายคนคิดว่าสำนักสงฆ์แห่งนี้ เป็นวัดมอญ พระมอญ แต่แท้จริงแล้วทั้งวัดทั้งพระคือชาวไทย ส่วนที่มีชาวมอญมาทำบุญกันเยอะ เพราะสำนักสงฆ์แห่งนี้ อนุญาตให้ทำบุญในรูปแบบของวัฒนธรรมชาวมอญนั่นเอง จากนั้น ชาวไทยและชาวมอญ ได้ช่วยกันสร้างพระพุทธสิริภูวดลมงคลชัย สูงกว่า 5 เมตร เพื่อกราบไหว้บูชา
ในปี พ.ศ. 2551 พระอาจารย์พุดซ้อน อินทวังโส ได้เดินธุดงค์มาถึงสำนักสงฆ์เขาระกำและขอจำพรรษาที่สำนักสงฆ์เขาระกำแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา และในปีเดียวกันพระอาจารย์ประเวช สีลฺเตโช หัวหน้าสำนักสงฆ์เขาระกำหายตัวไป ซึ่งทราบภายหลังว่าพระอาจารย์ประเวช ลาสิกขาบทแล้ว
ต่อมาสำนักงานชลประทานจังหวัดตราด ได้ขยายสันเขื่อนเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำ เพื่อนำน้ำมาช่วยบรรเทาภัยแล้งให้กับชาวบ้าน เมื่อสร้างเสร็จทำให้มีพื้นที่ริมอ่างถูกน้ำท่วมถึง หากมีการกักเก็บน้ำในช่วงหน้าฝน
ในปี พ.ศ. 2553 สำนักงานชลประทานจังหวัดตราดเริ่มกักเก็บน้ำตามแผนที่วางไว้ ทำให้พื้นที่ริมอ่างถูกน้ำท่วม ทั้งพื้นที่การเกษตร บ้านประชาชน โดยเฉพาะสำนักสงฆ์เขาระกำที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด ทำให้พระพุทธสิริภูวดลมงคลชัย กุฏิ ศาลาวัด กลายเป็นวัดร้างไปในที่สุด
จากเดิม อ่างเก็บน้ำกักเก็บน้ำได้ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อขยายความจุเสร็จแล้วสามารถกักเก็บเพิ่มได้อีก 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำเขาระกำสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 60 ล้านลูกบาศก์เมตร (แต่ปริมาณน้ำที่สามารถกักเก็บได้สูงสุดอยู่ที่ 57 ล้านลูกบาศก์เมตร)
เมื่อปี พ.ศ. 2555 พระอาจารย์พุดซ้อน อินทวังโส ที่ยังจำพรรษาอยู่ได้หาพื้นที่ตั้งสำนักสงฆ์แห่งใหม่ ที่ห่างจากจุดเดิมราว ๆ 1.5 กิโลเมตร โดยได้รับบริจาคที่ดิน 6 ไร่ครึ่งจากชาวบ้าน มีชื่อว่าสำนักสงฆ์เขาคุณธรรม โดยมีพระอาจารย์พุดซ้อน อินทวังโส เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์
สำนักสงฆ์เขาระกำปัจจุบันเหลือเพียงชื่อที่มีศาลาวัด และพระพุทธรูปองค์สีขาวตั้งตระหง่านอยู่กลางน้ำ มองเห็นได้จากระยะไกล ในช่วงน้ำขึ้นจะเข้าไปไม่ได้แต่ในช่วงเดือนมีนาคมน้ำในอ่างจะลดลงและเห็นสภาพของสำนักสงฆ์เขาระกำทั้งหมดในอดีตก่อนน้ำท่วม
จากความร่วมมือทุกภาคส่วนตั้งแต่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวตราด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เรือนจำชั่วคราวเขาระกำ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชนและประชาชนได้ร่วมกันส่งเสริมให้พระจมน้ำเขาระกำ จังหวัดตราด เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดตราดในเวลาต่อมา
ตอนนี้ถนนเข้าถึงจุดชมองค์พระได้อย่างใกล้ชิดแล้ว ใครจะไปเที่ยวพระจมน้ำขับรถไปได้สะดวกเลย หรือถ้าใครอยากได้ภาพสวย ๆ ก็มีบริการทริปพาย SUP Board ด้วยนะครับ สอบถามเพิ่มเติม 06-1525-1572
พระจมน้ำ ตราด
ที่เที่ยวตราด Unseen New Series
ที่เที่ยวตราด Unseen New Series
พระจมน้ำ เขาระกำ จังหวัดตราด ชื่อพระพุทธสิริภูวดลมงคลชัย สำนักสงฆ์เขาระกำ ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขาระกำ เขตอำเภอเมืองตราด ห่างจากตัวเมืองตราดประมาณ 12 กิโลเมตร
ที่มาของพระจมน้ำเขาระกำ (ข้อมูลโดยตราดทีวี)
เมื่อปี พ.ศ. 2545 พระอาจารย์ประเวช สีลฺเตโช ได้เดินธุดงค์จากเขาตาง๊อก จังหวัดสระแก้วมาถึงอ่างเก็บน้ำเขาระกำ ได้ขอใช้พื้นที่เป็นสถานที่พักเจ้าหน้าที่ชลประทานเป็นที่พักสงฆ์นับแต่นั้นมา
ที่พักสงฆ์แห่งนี้มีชื่อเรียกว่าสำนักสงฆ์เขาระกำ มีชาวไทย ชาวมอญในละแวกนั้นร่วมทำบุญร่วมสร้างวัดโดยเฉพาะชาวมอญที่มีความศรัทธาต่อพระอาจารย์ประเวช ทำให้ชาวมอญจำนวนมาก เดินทางมาทำบุญที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ ทำให้หลายคนคิดว่าสำนักสงฆ์แห่งนี้ เป็นวัดมอญ พระมอญ แต่แท้จริงแล้วทั้งวัดทั้งพระคือชาวไทย ส่วนที่มีชาวมอญมาทำบุญกันเยอะ เพราะสำนักสงฆ์แห่งนี้ อนุญาตให้ทำบุญในรูปแบบของวัฒนธรรมชาวมอญนั่นเอง จากนั้น ชาวไทยและชาวมอญ ได้ช่วยกันสร้างพระพุทธสิริภูวดลมงคลชัย สูงกว่า 5 เมตร เพื่อกราบไหว้บูชา
ในปี พ.ศ. 2551 พระอาจารย์พุดซ้อน อินทวังโส ได้เดินธุดงค์มาถึงสำนักสงฆ์เขาระกำและขอจำพรรษาที่สำนักสงฆ์เขาระกำแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา และในปีเดียวกันพระอาจารย์ประเวช สีลฺเตโช หัวหน้าสำนักสงฆ์เขาระกำหายตัวไป ซึ่งทราบภายหลังว่าพระอาจารย์ประเวช ลาสิกขาบทแล้ว
ต่อมาสำนักงานชลประทานจังหวัดตราด ได้ขยายสันเขื่อนเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำ เพื่อนำน้ำมาช่วยบรรเทาภัยแล้งให้กับชาวบ้าน เมื่อสร้างเสร็จทำให้มีพื้นที่ริมอ่างถูกน้ำท่วมถึง หากมีการกักเก็บน้ำในช่วงหน้าฝน
ในปี พ.ศ. 2553 สำนักงานชลประทานจังหวัดตราดเริ่มกักเก็บน้ำตามแผนที่วางไว้ ทำให้พื้นที่ริมอ่างถูกน้ำท่วม ทั้งพื้นที่การเกษตร บ้านประชาชน โดยเฉพาะสำนักสงฆ์เขาระกำที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด ทำให้พระพุทธสิริภูวดลมงคลชัย กุฏิ ศาลาวัด กลายเป็นวัดร้างไปในที่สุด
จากเดิม อ่างเก็บน้ำกักเก็บน้ำได้ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อขยายความจุเสร็จแล้วสามารถกักเก็บเพิ่มได้อีก 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำเขาระกำสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 60 ล้านลูกบาศก์เมตร (แต่ปริมาณน้ำที่สามารถกักเก็บได้สูงสุดอยู่ที่ 57 ล้านลูกบาศก์เมตร)
เมื่อปี พ.ศ. 2555 พระอาจารย์พุดซ้อน อินทวังโส ที่ยังจำพรรษาอยู่ได้หาพื้นที่ตั้งสำนักสงฆ์แห่งใหม่ ที่ห่างจากจุดเดิมราว ๆ 1.5 กิโลเมตร โดยได้รับบริจาคที่ดิน 6 ไร่ครึ่งจากชาวบ้าน มีชื่อว่าสำนักสงฆ์เขาคุณธรรม โดยมีพระอาจารย์พุดซ้อน อินทวังโส เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์
สำนักสงฆ์เขาระกำปัจจุบันเหลือเพียงชื่อที่มีศาลาวัด และพระพุทธรูปองค์สีขาวตั้งตระหง่านอยู่กลางน้ำ มองเห็นได้จากระยะไกล ในช่วงน้ำขึ้นจะเข้าไปไม่ได้แต่ในช่วงเดือนมีนาคมน้ำในอ่างจะลดลงและเห็นสภาพของสำนักสงฆ์เขาระกำทั้งหมดในอดีตก่อนน้ำท่วม
จากความร่วมมือทุกภาคส่วนตั้งแต่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวตราด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เรือนจำชั่วคราวเขาระกำ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชนและประชาชนได้ร่วมกันส่งเสริมให้พระจมน้ำเขาระกำ จังหวัดตราด เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดตราดในเวลาต่อมา
ตอนนี้ถนนเข้าถึงจุดชมองค์พระได้อย่างใกล้ชิดแล้ว ใครจะไปเที่ยวพระจมน้ำขับรถไปได้สะดวกเลย หรือถ้าใครอยากได้ภาพสวย ๆ ก็มีบริการทริปพาย SUP Board ด้วยนะครับ สอบถามเพิ่มเติม 06-1525-1572